วันที่ 26 มีนาคม 2564 รายงานข้อมูลจากนักวิจัยทางทะเล มหาวิทยาลัยพรีมัธ ประเทศอังกฤษ ที่ระบุว่า มีการประมาณการณ์ว่า 90% ของการค้าโลกเป็นการขนส่งทางทะเล แม้ในฐานะผู้บริโภคเราแทบไม่เคยคิดเลยว่าสินค้าที่ซื้อมานั้น เดินทางข้ามโลกและส่งมาถึงบ้านเราได้อย่างไร
กระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่เรือขนาดใญ่อย่าง “เอเวอร์ กิฟเวน” (Ever Given) จอดเกยตื้นในคลองสุเอซ ซึ่งถือเป็นการเผยจุดอ่อนของระบบการขนส่งโลก
อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณาว่าสถานการณ์เรือเกยตื้นครั้งนี้ร้ายแรงแค่ไหน ต้องดูจากการกู้เรือและการทำให้เรือกลับมาลอยลำได้อีกครั้ง ซึ่งถือถือเป็นภารกิจที่มีความซับซ้อน เนื่องจากต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์พิเศษ และอาจใช้เวลามาก เรือคอนเทนเนอร์คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของเรือที่สัญจรในคลองสุเอซ โดยความลึกและเส้นรอบวงเรือของเรือเหล่านี้ เป็นสาเหตุให้สัญจรผ่านคลองสุเอซได้ยากลำบาก ด้วยความสามารถในการบรรทุกสินค้ามากกว่า 150,000 ตัน
เรือเหล่านี้จะไม่สามารถหยุดกระทันหันได้ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ลูกเรือจะมีเวลารับมือน้อยมากก่อนที่เรือจะเกยตื้น อีกปัจจัยหนึ่งคือความขรุขระของริมฝั่งคลอง หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่กี่กิโลเมตรจากท่าจอดเรือของคลองสุเอซ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของช่องแคบ เรือลำนี้อาจจะเกยตื้นบนฝั่ง ที่เต็มไปด้วยหิน ไม่ใช่ทราย
นอกจากนี้ นักวิจัยยังสนใจปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อเหตุการณ์นี้ด้วย หนึ่งในนั้นคือปัจจัยเรื่อง “เวลา” เพราะโดยปกติแล้ว ช่วงก่อนเทศกาลคริสต์มาส คือในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วุ่นวายสำหรับการค้าขายทางทะเล การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในช่วงเวลานี้จะสร้างความยุ่งยากมากขึ้น โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สภาพอากาศเลวร้าย เช่น หมอกหนา จนทัศนวิสัยแย่ลง แม้ทีมจะยังไม่เคยประเมินว่าสถานการณ์นี้จะเกิดขึ้น แต่สถานการณ์นี้ก็ทำให้เราทราบว่าเรือที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนกว่านี้ อาจเดินทางผ่านช่องแคบที่สร้างขึ้นในยุคก่อนด้วยความเสี่ยงที่มากขึ้น การเกยตื้นของเรือในวันนี้อาจไม่ส่งผลระยะยาวมากนัก แต่ก็อาจถูกมองว่าเป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบทั้งในวงแคบและวงกว้างต่อการค้าท้องถิ่นและการค้าโลก
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : https://www.prachachat.net/world-news/news-637725